ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
Abraham Harold Maslow : มาสโลว์
เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ เขาเป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม
เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า
การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น
แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ
พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจซึ่งแบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ , ความต้องการความปลอดภัย ,
ความต้องการทางสังคม , ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ
โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์
ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือทฤษฎีร่วมสมัย
เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ ดังนั้นวิลเลี่ยม
จึงศึกษาถึงจุดดีของการบริหารจัดการจากสองค่ายนำมาสร้างเป็นแนวคิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้
การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น
ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ทฤษฎี J คือ
การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิตจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปทฤษฎี Z เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
Henry Fayol : อังริ ฟาโยลเป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ
จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ
Max Weber : แมกซ์ เวเบอร์
เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracyซึ่งมี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1.องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ
และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2.องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3.ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4.องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5.ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6.การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther Gulick : เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ
ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี
มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน)กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้ P คือการวางแผน , O คือการจัดองค์การ , D คือการสั่งการ , S คือการ , CO คือการประสานงาน , R คือการรายงาน และB คือการงบประมาณ
Frederick Herzberg : ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค
เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg) เขาได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน
ซึ่งได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอกจะทำให้คนพึงพอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก
ส่วนปัจจัยภายในจะก่อให้เกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก
Frederick W. Taylor : เทย์เลอร์
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเขาได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Henry L. Gantt : Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt
Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ
และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน
เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่
โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank
B. & Lillian M. Gilbreths : แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง
และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง
การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน ผังกระบวนการทำงาน
พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์
ศึกษาในเรื่องของเวลาและการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองช่างเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
ในยุคปัจจุบันการลดรอบการทำงาน
หรือการลดระยะเวลาการทำงานเพื่อให้ได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมคือสิ่งจำเป็นที่หลายหน่วยงานจะต้องทำ
ถือว่าเป็นเรื่องของการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน
สำคัญถึงขนาดจะต้องทำสัญญาต่อกันเลยว่าจะต้องปฏิบัติให้ได้
ถ้าทำไม่ถึงเกณฑ์ก็จะอดโบนัส หรือได้น้อยลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น